การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการในการเรียนการสอน


  การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจฮาวิกเฮิร์ส 
ในด้านการเรียนการสอน         
         รูปภาพที่เกี่ยวข้อง 

การนำไปใช้งานพัฒนาการของโรเบิร์ต เจฮาวิกเฮิร์ส มีผู้นำไปประยุกต์ใช้ในวงการศึกษามาก โดยเฉพาะในระดับอนุบาล ประถมศึกษา และมัธยมศึกษา เพราะทำให้ครูทราบว่าเด็กในวัยต่างๆ นั้น ทำอะไรได้บ้าง จะจัดการเรียนรู้อย่างไรให้สนองความพร้อมของเด็ก เมือครูทราบว่าเด็กวัยนั้นๆ ควรทำ อะไรได้บาง สิ่งเหล่านี้มีความจำเป็น อย่างไร
ระดับอนุบาล
1.มีความคิดรวบยอดง่ายๆ เกี่ยวกับความจริงทางสังคมและทางกายภาพ
2.เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างตนเองกับพ่อแม่พี่น้องตลอดจนคนอื่นๆ

3.เรียนรู้ที่จะมองเห็นความแตกต่าง ระหว่างสิ่งที่ผิดที่ถูก และเริ่มพัฒนา ทางจริยธรรม

                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปในชั้นเรียนอนุบาล

 ระดับประถมศึกษา
1.เรียนรู้ที่จะใช้ทักษะทางด้านร่างกาย
2.สร้างเจตคติต่อตนเองในฐานะที่เป็นสิ่งมีชีวิต
3.เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
4.เรียนรู้บทบาทที่เหมาะสมของเพศหญิงและเพศชาย
5.พัฒนาเกี่ยวกับศีลธรรมจรรยาและค่านิยม
6.สามารถพึ่งพาตนเองได้
7.พัฒนาเจตคติต่อกลุ่มสังคมและต่อสถาบันต่างๆ
8.พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ


                            ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปในระดับประถมศึกษา

ระดับมัธยมศึกษา
1.สามารถสร้างความสัมพันธ์อันดีและเหมาะสมกับเพื่อนในราวคราวเดียวกัน
2. แสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
3. ยอมรับสภาพร่างกายตนเอง
4. รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
5.  มีการเตรียมตัวเพื่อการแต่งงานและการมีครอบครัว  
6. เริ่มเตรียมตัวที่จะเป็นพลเมืองดี
7.  มีความต้องการและรู้จักพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบ

8. มีความเข้าใจในเรื่องค่านิยม


                               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ รูปในชั้นเรียนระดับระดับมัธยมศึกษา วัยรุ่น





 การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์ในด้านการเรียนการสอน


ระดับอนุบาลและระดับประถมต้น
เด็กในวัยอนุบาลอยู่ในช่วง  Preoperation เด็กสามารถเข้าใจสิ่งต่างๆได้ โดยการใช้สัญลักษณ์ การใช้ภาษายังมีลักษณะยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง ยังไม่สามารถเข้าใจได้ว่า คนอื่นๆ จะมีความเห็นต่างกันอย่างไร ภาษาและความคิดของเด็กวัยนี้จะต่างจากครู  ดังนั้น ครูควรที่จะอธิบายว่า คำพูดที่เด็กพูดนั้นหมายถึงอะไร ในระหว่างวัยนี้ เด็กจะค่อยๆ มีความสามารถที่จะเริ่มมองเห็นสิ่งของได้มากกว่าหนึ่งสิ่งในเวลาเดียวกัน  เด็กจะค่อยๆ เริ่มมีConservation Concept ซึ่งความคงตัวที่เด็กสามารถเข้าใจมากที่สุด ก็คือ เกี่ยวกับมวล ดังนั้น เด็กที่อยู่ในช่วงปลายปี ป. 1 หรือ ป. 2 จะมี Concept เกี่ยวกับเรื่องนี้ ซึ่งทำไห้เด็กในช่วงนี้ สามารถคิดหาเหตุผลและแก้ปัญหาเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นรูปธรรมได้ ซึ่งจะต่างจากวัยอนุบาล ที่ยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับความคงตัว จึงแก้ปัญหาด้วยการรับรู้ ดังนั้น เพียเจท์ จึงกล่าวว่า ก่อนที่เด็กจะเรียนเลข จะต้องเข้าใจเกี่ยวกับกฎของ Conservation เสียก่อน การเรียนเลขมิได้หมายถึงเพียงการนับได้เท่านั้น แต่จะต้องเข้า Concept ของจำนวน

           ระดับประถมปลาย
             เด็กวัยนี้สามารถคำนึงถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้อื่น และสามารถใช้ภาษาติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นได้และเขาเชื่อว่าในวัยนี้โดยเฉพาะชั้น ป. 5, . 6  เด็กจะเปลี่ยนจากขั้น Concrete มาเป็น Formal เมื่อเด็กมาถึงขั้นFormal แล้ว เด็กจะสามารถสร้างทฤษฎีและหาข้อสรุป โดยใช้เหตุผลเป็นพื้นฐาน โดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์เรื่องนั้นมาก่อน ตลอดจนสามารถแก้ปัญหาที่เป็นนามธรรมได้ สิ่งสำคัญที่ครูจะต้องคำนึง คือ ในช่วงวัยนี้ครูอาจจะต้องทำงานอยู่กับเด็กทั้งสองวัย ซึ่งเด็กวัย Concrete และวัย Formal มีลักษณะแตกต่างกัน ในเวลาหนึ่งเด็กอาจจะคิดอีกอย่างหนึ่ง ดังนั้น วิธีที่ดี คือ การเปิดโอกาสให้เด็กได้อธิบายเกี่ยวกับความคิดนั้นๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสิ่งที่เป็นนามธรรม ซึ่งจะช่วยให้ครูเข้าใจความคิดต่างๆ ของเด็กได้

           ระดับมัธยมศึกษา
              เด็กสามารถคิดถึงองค์ประกอบต่างๆได้ เช่น ความยาวของเชือก และแรงเหวี่ยง นอกจากนั้น ยังสามารถคิดถึงความน่าจะเป็น ดังนั้น ความคิดของเพียเจท์สำหรับเด็กวัยนี้ คือ สามารถคิดเกี่ยวกับสิ่งที่เป็นนามธรรมได้ทุกเรื่องและสามารถตั้งสมมติฐานได้ นอกจากนั้น ลักษณะที่สำคัญของเด็กวัยนี้ คือ การที่เด็กจะให้ความสนใจกับสิ่งที่เป็นไปได้มากกว่าความเป็นจริง เด็กจะให้ความสำคัญกับความคิดของตนเองและคิดว่าคนอื่นๆ ก็คิดเช่นเดียวกันกับตน ด้วยเหตุนี้ในวัยนี้ กลุ่มเพื่อนจึงมีอิทธิพลต่อเด็กมาก เมื่อเด็กอยู่ในช่วงปลายๆ วัยรุ่นลักษณะเช่นนี้จะหายไป เด็กจะเริ่มรู้สึกว่าคนอื่นๆ ก็จะคำนึงถึงตนเองและปัญหาของตนเองมากกว่า


การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาจิต-สังคมของอิริคสันในด้านการเรียนการสอน


การนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการเรียนการสอน
        ทฤษฎีพัฒนาการทางจิตสังคมของอีริคสันส่งผลให้วงการศึกษาตื่นตัวอย่างน้อยที่สุด 2 เรื่อง คือ สัมพันธภาพระหว่างบุคคลและการรับรู้เกี่ยวกับตนเองซึ่งทั้งสองสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญยิ่งในการพัฒนาแต่ละช่วงวัยของผู้เรียน
นอกจากนี้ครูที่นำขั้นพัฒนาการมาใช้เป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการเรียนรู้ก็จะสามารถช่วยพัฒนาให้ผู้เรียนมีบุคลิกภาพหรือคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้



การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการของฟรอยด์ในด้านการเรียนการสอน



          เราสามารถดูพัฒนาการของเด็กโดยการสังเกตจากพฤติกรรม เมื่อมีพัฒนาการไม่สมกับวัยก็ควรพิจารณาว่าเด็กขาดความความพึงพอใจในขั้นใด และสามารถที่จะช่วยให้มีพัฒนาการที่ตามวัย ทั้งนี้ควรคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคลด้วย โดยมีคุณครูเป็นผู้จัดประสบการณ์ให้กับเด็ก


การประยุกต์ใช้ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของโคลเบิร์กในด้านการเรียนการสอน



       ทฤษฎี พัฒนาการทางจริยธรรมของโคห์ลเบิร์ก ทำให้ผู้สอนรู้ว่าเด็กเล็กมีการตอบสนองข้อขัดแย้งในเรื่องจริยธรรม แตกต่างจากเด็กโต ซึ่งในการจัดการเรียนรู้นั้นผู้สอนควรกระตุ้นให้เด็กได้สื่อแนวคิดนั้นๆออก มาโดยสร้างบรรยากาศที่สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนอภิปรายได้อย่างอิสระ และใช้สถานการณ์ตัวอย่างหรือเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในห้องเรียนมากระตุ้น ให้ผู้เรียนตระหนักถึงการมีจริยธรรม


การประยุกต์ใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสติปัญญาของบรูเนอร์ในด้านการเรียนการสอน


          จัดกิจกรรรมการเรียนการสอนโดยเน้นที่ผู้เรียนได้ลงมือปฎิบัติด้วยตนเอง การให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติเพื่อเกิดการเรียนรู้ไม่จำกัดเฉพาะในรายวิชาวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ในทุกรายวิชาผู้เรียนสามารถลงมือปฏิบัติได้ด้วยตนเอง เพื่อให้เกิดความรู้ที่คงทนกับผู้เรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเน้นให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์กับสมาชิกในชั้นและปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนเอง ให้ผู้เรียนได้แสดงออกอย่างเต็มศักยภาพ ในทุกรายวิชาทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้สามารถจัดกิจกรรมโดยการให้ผู้เรียนลงมือ ทำอาทิเช่น การเรียนการสอนแบบโครงงาน
ตัวอย่างกิจกรรมและหัวข้อเรื่องอาจจะเป็นเรื่องง่ายที่สุดไล่ไปถึงยากที่สุดก็ได้และลักษณะกิจกรรมก็สามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามผู้ที่วางแผนการสอนและผู้สอน เช่น สมมุติว่าเนื้อหาที่เรียนเป็นเรื่อง พืช ผู้สอนอาจจะแบ่งกลุ่มให้ผู้เรียนช่วยกันคิดว่าอยากรู้อะไรเกี่ยวกับพืช (ผู้สอนต้องคอยดึงประเด็นไม่ให้นอกเรื่องมากเกินไปด้วย) แล้วให้แต่ละกลุ่มก็ไปหาเมล็ดพืชที่ตัวเองสนใจมาปลูก สัปดาห์แรกอาจจะกำหนดเป็นพืชผักสวนครัว เมื่อปลูกเสร็จก็ให้ผู้เรียนวางแผนการขาย และขั้นตอนสุดท้ายคือนำเสนอผลงานหน้าห้องกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้าง แล้วขั้นกิจกรรมนี้สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้ก็คือพืชสวนครัวมีอะไรบ้างแล้วขั้นตอนการปลูก การวางแผนการขายต้องกำหนดต้นทุน ราคา และคิดหากำไร

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ การลงมือทำผู้เรียนจะเกิดประสบการณ์ตรง แล้วใช้ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นเป็นบทเรียนสำคัญในการแก้ปัญหาและปรับปรุงให้ดีขึ้นผู้เรียนมีการปฏิบัติสัมพันธ์กับสิ่งต่างๆ อย่างหลากหลาย ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ๆ มากมายผู้เรียนคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้เมื่อได้ลงมือปฏิบัติผู้เรียนจะจำความรู้ได้แม่นและนานกว่าการท่องจำเกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ จากการทำกิจกรรม












ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น