ทฤษฎีพัฒนาการตามวัยของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส
( Havighurst’s Theory of Development task )
( Havighurst’s Theory of Development task )
ศาสตราจารย์โรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส (Robert havighurst 1953-1972 ) ได้ให้ชื่อว่า งานที่มนุษย์ ทุกคนจะต้องทำตามวัยว่า งานพัฒนาการ หมายถึง งานที่ทุกคนจะต้องทำในแต่ละวัยของชีวิต สัมฤทธ์ผลของงาน พัฒนาการของงานแต่ละวัย มีความสำคัญเพราะเป็นของการเรียนรู้งานพัฒนาขั้นต่อไป
ตัวแปรที่สำคัญในการพัฒนา
1.วุฒิภาวะทางร่างกาย
2.ความมุ่งหวังของสังคมและกลุ่มที่แต่ละบุคคลเป็นสมาชิกอยู่
3.ค่านิยม แรงจูงใจ ความมุ่งหวังส่วนตัว
3.1 ความพร้อมเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ( Natural Readiness Approach )
กลุ่มนี้นี้ความเห็นว่า ความพร้อมของบุคคลเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติเมื่อถึงวัยหรือเมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสมที่จะทำกิจกรรมอย่างหนึ่งอย่างใดได้ดังนั้นในกลุ่มนี้จึงเห็นว่าการทำอะไรก็ตามไม่ควรจะเป็น “การเร่ง” เพราะการเร่งจะไม่ทำให้เกิดประโยชน์ใดๆทั้งสิ้น ตรงกันข้ามอาจจะทำให้เกิดผลเสียตามมาคือ ความท้อถอย และความเบื่อหน่าย เป็นต้น
3.2ความพร้อมเกิดจากการกระตุ้น ( Guided Experience Approach)
กลุ่มนี้มีความเห็นตรงข้ามกับกลุ่มแรก คือ เห็นว่า ความพร้อมนั้นสามารถเร่งให้เกิดขึ้นได้ โดยการกระตุ้น การแนะนำ การจัดประสบการณ์อันจะก่อให้เกิดเป็นความพร้อมได้โดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงวัยเด็ก ซึ่งจะเป็นวัยที่มีช่วงวิกฤติ (Critical Period)ของการเรียนรู้และการปรับตัวเป็นอย่างมาก
4.สิ่งแวดล้อม ได้แก่ สิ่งที่อยู่รอบตัวบุคคลนั้นๆ ทั้งสิ่งมีชีวิตและสิ่งที่ไม่มีชีวิต นอกจากนั้นสิ่งแวดล้อมยังหมายรวมถึงระบบและโครงสร้างต่างๆ ที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เช่น ระบบครอบครัว ระบบสังคม ระบบวัฒนธรรม เป็นต้น
การแบ่งพัฒนาการของมนุษย์
พัฒนาการของมนุษย์ แบ่งออกเป็น 4 ด้านใหญ่ คือ
1.พัฒนาการทางร่างกาย เป็นการแบ่งพัฒนาการของมนุษย์ตามขั้นตอนในแต่ละวัน
2.พัฒนาการทางด้านความคิดหรือสติปัญญา (Cognitive Development) ของเพียเจท์
3.พัฒนาการทางด้านจิตใจ ซึ่งแบ่งย่อยเป็น
3.1 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-เพศ (Psychosexual Development) ของฟรอยด์ (Freud)
3.2 พัฒนาการทางด้านจิตใจ-สังคม (Psychosocial Development) ของอีริคสัน (Erikson)
4. พัฒนาการด้านจริยธรรม (Moral Development) ของโคลเบริ์ก (Kohlberg)
พัฒนาการตามวัย
ตามความคิดของโรเบิร์ต เจ. ฮาวิกเฮิร์ส ได้แบ่งพัฒนาการของมนุษย์ออกเป็นวัยต่างๆ 6 ช่วงอายุ ดังนี้
1.วัยเด็กเล็ก-วัยเด็กตอนต้น ( แรกเกิด- 6 ปี )
- เรียนรู้ที่จะเดิน
-เรียนรู้ที่จะรับประทาน
-เรียนรู้ที่จะสร้างความผูกพันตนเองกับพ่อแม่ เป็นต้น
2.วัยเด็กตอนกลาง ( 6-12 ปี )
- เรียนรู้ที่จะปรับตัวให้เข้ากันได้กับเพื่อนรุ่นเดียวกัน
- สามารถช่วยตนเองได้
- พัฒนาทักษะพื้นฐานในการอ่าน เขียน และคำนวณ เป็นต้น
3.วัยรุ่น ( 12-18 ปี
- รู้จักควบคุมอารมณ์ของตนเองได้
- สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมได้
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้
- สามารถสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นในสังคมได้
- มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคมได้

4.วัยผู้ใหญ่ตอนต้น ( 18-35 ปี )
- มีการเลือกคู่ครอง
- รู้จักจัดการภารกิจในครอบครัว
- รู้จักจัดการภารกิจในครอบครัว
5.วัยกลางคน ( 35-60 ปี )
- รู้จักใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
- เรียนรู้ที่จะยอมรับและปรับตัวให้เข้ากับสภาพการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย


6.วัยชรา ( อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป )
- สามารถรับตัวได้กับสภาพร่างกายที่เสื่อมถอยลง
- ปรับตัวได้กับการที่ต้องเกษียณอายุตลอดจนเงินเดือนลดลง
หลักพัฒนาการแนวคิด
- สามารถที่จะแสดงบทบาททางสังคมได้เหมาะสมกับเพศของตน
- เลือกและเตรียมตัวที่จะเลือกอาชีพในอนาคต
- พัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญาและความคิดรวบยอดต่างๆที่จำเป็นสำหรับสมาชิกของชุมชนที่มีสมรรถภาพ
- มีความต้องการที่จะแสดงพฤติกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
การนำไปประยุกต์ใช้
สามารถสังเกตุพัฒนาการต่างๆของเพื่อนๆและคนรอบข้าง เพื่อให้รู้จักนิสัยใจคอมากขึ้น และใช้เทคโนโลยี สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับทางการศึกษาและการสืบค้นหรืออื่นๆได้
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์

ทฤษฎีการเรียนรู้ ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจต์
มีสาระสรุปได้ดังนี้ (Lall and Lall, 1983:45-54) พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่าง
ๆ เป็นลำดับขั้น ดังนี้
1. ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี
พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่ เช่น การไขว่คว้า
การเคลื่อนไหว การมอง การดู
ในวัยนี้เด็กแสดงออกทางด้านร่างกายให้เห็นว่ามีสติปัญญาด้วยการกระทำ
เด็กสามารถแก้ปัญหาได้ แม้ว่าจะไม่สามารถอธิบายได้ด้วยคำพูด
เด็กจะต้องมีโอกาสที่จะปะทะกับสิ่งแวดล้อมด้วยตนเอง
ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพัฒนาการด้านสติปัญญาและความคิดในขั้นนี้
มีความคิดความเข้าใจของเด็กจะก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว เช่น
สามารถประสานงานระหว่างกล้ามเนื้อมือ และสายตา เด็กในวัยนี้มักจะทำอะไรซ้ำบ่อยๆ
เป็นการเลียนแบบ พยายามแก้ปัญหาแบบลองผิดลองถูก
เมื่อสิ้นสุดระยะนี้เด็กจะมีการแสดงออกของพฤติกรรมอย่างมีจุดมุ่งหมายและสามารถแก้ปัญหาโดยการเปลี่ยนวิธีการต่าง
ๆ เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการแต่กิจกรรมการคิดของเด็กวัยนี้ส่วนใหญ่ยังคงอยู่เฉพาะสิ่งที่สามารถสัมผัสได้เท่านั้น

2. ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational
Stage) ขั้นนี้เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้นคือ
- ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual
Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น
สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์ 2 เหตุการณ์
หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผลเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน
แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่ เพราะเด็กยังคงยึดตนเองเป็นศูนย์กลาง
คือถือความคิดตนเองเป็นใหญ่ และมองไม่เห็นเหตุผลของผู้อื่น
ความคิดและเหตุผลของเด็กวัยนี้ จึงไม่ค่อยถูกต้องตามความเป็นจริงนัก
นอกจากนี้ความเข้าใจต่อสิ่งต่างๆ ยังคงอยู่ในระดับเบื้องต้น เช่น
เข้าใจว่าเด็กหญิง 2 คน ชื่อเหมือนกัน
จะมีทุกอย่างเหมือนกันหมด แสดงว่าความคิดรวบยอดของเด็กวัยนี้ยังไม่พัฒนาเต็มที่
แต่พัฒนาการทางภาษาของเด็กเจริญรวดเร็วมาก
- ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล
(Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น
รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของวัตถุ เข้าใจความหมายของจำนวนเลข
เริ่มมีพัฒนาการเกี่ยวกับการอนุรักษ์ แต่ไม่แจ่มชัดนัก
สามารถแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้โดยไม่คิดเตรียมล่วงหน้าไว้ก่อน
รู้จักนำความรู้ในสิ่งหนึ่งไปอธิบายหรือแก้ปัญหาอื่นและสามารถนำเหตุผลทั่วๆ ไปมาสรุปแก้ปัญหา
โดยไม่วิเคราะห์อย่างถี่ถ้วนเสียก่อนการคิดหาเหตุผลของเด็กยังขึ้นอยู่กับสิ่งที่ตนรับรู้
หรือสัมผัสจากภายนอก
3. ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation
Stage) ขั้นนี้จะเริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้
เด็กวัยนี้สามารถที่จะเข้าใจเหตุผล รู้จักการแก้ปัญหาสิ่งต่างๆ ที่เป็นรูปธรรมได้
สามารถที่จะเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องความคงตัวของสิ่งต่างๆ
โดยที่เด็กเข้าใจว่าของแข็งหรือของเหลวจำนวนหนึ่งแม้ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างไปก็ยังมีน้ำหนัก
หรือปริมาตรเท่าเดิม สามารถที่จะเข้าใจความสัมพันธ์ของส่วนย่อย ส่วนรวม
ลักษณะเด่นของเด็กวัยนี้คือ ความสามารถในการคิดย้อนกลับ
นอกจากนั้นความสามารถในการจำของเด็กในช่วงนี้มีประสิทธิภาพขึ้น
สามารถจัดกลุ่มหรือจัดการได้อย่างสมบูรณ์ สามารถสนทนากับบุคคลอื่นและเข้าใจความคิดของผู้อื่นได้ดี

4. ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational
Stage) นี้จะเริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด
คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง
เด็กจะสามารถที่จะคิดหาเหตุผลนอกเหนือไปจากข้อมูลที่มีอยู่
สามารถที่จะคิดแบบนักวิทยาศาสตร์ สามารถที่จะตั้งสมมุติฐานและทฤษฎี
และเห็นว่าความเป็นจริงที่เห็นด้วยการรับรู้ที่สำคัญเท่ากับความคิดกับสิ่งที่อาจจะเป็นไปได้
เด็กวัยนี้มีความคิดนอกเหนือไปกว่าสิ่งปัจจุบัน
สนใจที่จะสร้างทฤษฎีเกี่ยวกับทุกสิ่งทุกอย่างและมีความพอใจที่จะคิดพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่มีตัวตน
หรือสิ่งที่เป็นนามธรรมพัฒนาการทางการรู้คิดของเด็กในช่วงอายุ 6 ปีแรกของชีวิต ซึ่งเพียเจต์ ได้ศึกษาไว้เป็นประสบการณ์
สำคัญที่เด็กควรได้รับการส่งเสริม มี 6 ขั้น
ได้แก่
- ขั้นความรู้แตกต่าง (Absolute
Differences) เด็กเริ่มรับรู้ในความแตกต่างของสิ่งของที่มองเห็น
- ขั้นรู้สิ่งตรงกันข้าม (Opposition)ขั้นนี้เด็กรู้ว่าของต่างๆ มีลักษณะตรงกันข้ามเป็น 2 ด้าน เช่น มี-ไม่มี หรือ เล็ก-ใหญ่
- ขั้นรู้หลายระดับ (Discrete
Degree) เด็กเริ่มรู้จักคิดสิ่งที่เกี่ยวกับลักษณะที่อยู่ตรงกลางระหว่างปลายสุดสองปลาย
เช่น ปานกลาง น้อย
- ขั้นความเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง (Variation) เด็กสามารถเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น
บอกถึงความเจริญเติบโตของต้นไม้
- ขั้นรู้ผลของการกระทำ (Function) ในขั้นนี้เด็กจะเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลง
- ขั้นการทดแทนอย่างลงตัว (Exact
Compensation) เด็กจะรู้ว่าการกระทำให้ของสิ่งหนึ่งเปลี่ยน
แปลง ย่อมมีผลต่ออีกสิ่งหนึ่งอย่างทัดเทียมกัน
ทฤษฎีจิตสังคม (Psychological Theory)
ได้แบ่งพัฒนาทางบุคลิกภาพออกเป็น 8 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจาก
การสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority) อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทใน
สังคม (Ego Identity vs Role Confusion) อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่
ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอม เห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลยและมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) อีริคสันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไปหรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุดยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย ยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย
ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional Morality Level)
ในระดับที่ 1 นี้เด็กจะรับรู้กฎเกณฑ์ของพฤติกรรมที่ ‘ดี’ และ ‘ไม่ดี’ จากผู้มีอำนาจเหนือตนเอง เช่น พ่อแม่ ครูหรือเด็กที่โตกว่า และมักคำนึงถึงผลที่ตามมาว่าเป็นรางวัลหรือการถูกลงโทษในการตีความพฤติกรรมของตนเอง อย่างเช่นพฤติกรรมดี คือพฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับรางวัล ส่วนพฤติกรรมที่ไม่ดี คือพฤติกรรมที่แสดงแล้วถูกลงโทษ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะพบในเด็กที่อายุ 2 – 10 ปี โดยพัฒนาการทางจริยธรรมในระดับที่ 1 นี้จะแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ
ขั้นที่ 1 ความไว้วางใจ – ความไม่ไว้วางใจ (Trust vs Mistrust)
ซึ่งเป็นขั้นในวัยทารก อีริควันถือว่าเป็นรากฐานที่สำคัญของพัฒนาการในวัยต่อไป เด็กวัยทารกจำเป็นจะต้องมีผู้เลี้ยงดูเพราะช่วยตนเองไม่ได้ ผู้เลี้ยงดูจะต้องเอาใจใส่เด็ก ถึงเวลาให้นมก็ควรจะให้และปลดเปลื้องความเดือดร้อน ไม่สบายของทารกอันเนื่องมาจากการขับถ่าย เป็นต้น
ขั้นที่ 2 ความเป็นตัวของตัวเองอย่างอิสระ – ความสงสัยไม่แน่ใจตัวเอง (Autonomous vs Shame and Doubt) อยู่ในวัยอายุ 2-3 ปี วัยนี้เป็นวัยที่เริ่มเดินได้ สามารถที่จะพูดได้และความเจริญเติบโตของร่ายการช่วยให้เด็กมีความอิสระ พึ่งตัวเองได้ และมีความอยากรู้อยากเห็น อยากจับต้องสิ่งของต่างๆ เพื่อต้องการสำรวจว่าคืออะไร เด็กเริ่มที่อยากเป็นอิสระ เป็นตัวของตัวเอง
ขั้นที่ 3 การเป็นผู้คิดริเริ่ม – การรู้สึกผิด (Initiative vs Guilt) วัยเด็กอายุประมาณ 3-5 ปี อีริคสันเรียกวัยนี้ว่าเป็นวัยที่เด็กมีความคิดริเริ่มอยากจะทำอะไรด้วยตนเองจากจินตนาการของตนเอง การเล่นสำคัญมากสำหรับวัยนี้เพราะเด็กจะได้ทดลองทำสิ่งต่างๆ จะสนุกจาก
การสมมติของต่างๆ เป็นของจริง เช่น อาจจะใช้ลังกระดาษเป็นรถยนต์ ขับรถยนต์เหมือนผู้ใหญ่
ขั้นที่ 4 ความต้องการที่จะทำกิจกรรมอยู่เสมอ – ความรู้สึกด้อย (Industry vs Inferiority) อีริคสันใช้คำว่า Industry กับเด็กอายุประมาณ 6-12 ปี เนื่องจากเด็กวัยนี้มีพัฒนาการด้านสติปัญญาและทางด้านร่างกาย อยู่ในขั้นที่มีความต้องการที่จะอะไรอยู่เมือไม่เคยว่าง
ขั้นที่ 5 อัตภาพหรือการรู้จักว่าตนเองเป็นเอกลักษณ์ – การไม่รู้จักตนเองหรือสับสนในบทบาทใน
สังคม (Ego Identity vs Role Confusion) อีริคสันกล่าวว่า เด็กในวัยนี้ที่มีอายุระหว่าง 12-18 ปี จะรู้สึกตนเองว่า มีความเจริญเติบโต โดยเฉพาะทางด้านร่างกายเหมือนกับผู้ใหญ่ทุกอย่าง ร่างกายเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว มีการเปลี่ยนแปลงทางเพศทั้งหญิงและชาย เด็กวัยรุ่นจะมีความรู้สึกในเรื่องเพศและบางคนเป็นกังวลต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ขั้นที่ 6 ความใกล้ชิดผูกพัน – ความอ้างว้างตัวคนเดียว (Intimacy vs Isolation) วัยนี้เป็นวัยผู้ใหญ่
ระยะต้น (Young Adulthood) เป็นวัยที่ทั้งชายและหญิงเริ่มที่จะรู้จักตนเองว่ามีจุดมุ่งหมายในชีวิตอย่างไร เป็นวัยที่พร้อมที่จะมีความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศในฐานะเพื่อนสนิทที่จะเสียสละให้กันและกัน รวมทั้งสามารถยินยอม เห็นใจซึ่งกันและกันโดยไม่เห็นแก่ตัวเลยและมีความคิดตั้งตนเป็นหลักฐานหรือคิดสนใจที่จะแต่งงานมีบ้านของตนเอง
ขั้นที่ 7 ความเป็นห่วงชนรุ่นหลัง – ความคิดถึงแต่ตนเอง (Generativity vs Stagnation) อีริคสันอธิบายคำว่า Generativity ว่าเป็นวัยที่เป็นห่วงเพื่อนร่วมโลกโดยทั่วไปหรือเป็นห่วงเยาวชนรุ่นหลัง อยากจะให้ความรู้ สั่งสอนคนรุ่นหลังต่อไป คนที่แต่งงานมีบุตรก็สอนลูกหลายคนที่ไม่แต่งงาน ถ้าเป็นครูก็สอนลูกศิษย์ ถ้าเป็นนายก็สอนลูกน้อง หรือช่วยทำงานทางด้านศาสนา เพื่อที่จะปลูกฝังให้คนรุ่นหลังเป็นคนดีต่อไป
ขั้นที่ 8 ความพอใจในตนเอง – ความสิ้นหวังและความไม่พอใจในตนเอง (Ego Integrity vs Despair) วัยนี้เป็นระยะบั้นปลายของชีวิต ฉะนั้น บุคลิกภาพของคนวัยนี้มักจะเป็นผลรวมของวัย 7 วัยที่ผ่านมา ผู้มีอาวุโสบางท่านยอมรับว่าได้มีชีวิตที่ดีและได้ทำดีที่สุดยอมรับว่าตอนนี้แก่แล้วและจะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุขจะเป็นนายของตนเองและมีความพอใจในสภาพชีวิตของตน ไม่กลัวความตาย พร้อมที่จะตาย ยอมรับว่าคนเราเกิดมาแล้วก็จะต้องตาย
ทฤษฎีของพัฒนาการทางบุคลิกภาพของฟรอยด์
การทำงานของจิต แบ่งออกเป็น 3
ระดับ คือ
1.
จิตไร้สำนึก ( Unconscious Mind )
การแสดงพฤติกรรมของมนุษย์โดยออกไปโดยไม่รู้ตัว
ที่เกิดมาจากพลังของจิตไร้สำนึกซึ่งทำหน้าที่กระตุ้นให้บุคคลแสดงออกไปตามหลักแห่งความพึงพอใจของตน
และการทำงานของจิตไร้สำนึกเกิดจากความปรารถนา หรือความต้องการของบุคคลที่เกิดขึ้นในวัยเด็ก
ที่ไม่ได้รับการยอมรับ เช่น การถูกห้าม หรือถูกลงโทษ จะถูกเก็บกดไว้ในจิตส่วนนี้
2.
จิตสำนึก ( Conscious Mind )
บุคคลรับรู้ตามประสาทสัมผัสทั้งห้า
ที่บุคคลจะมีการรู้ตัวตลอดเวลาว่ากำลังทำอะไรอยู่ คิดอะไรอยู่
คิดอย่างไรเป็นการรับรู้โดยทั่วไปของมนุษย์
ที่ควบคุมการกระทำส่วนใหญ่ให้อยู่ในระดับรู้ตัว (Awareness) และเป็นพฤติกรรมที่แสดงออกมา โดยมีเจตนาและมีจุดมุ่งหมาย
3.
จิตก่อนสำนึก ( Preconscious Mind )
เป็นส่วนของประสบการณ์ที่สะสมไว้ หรือเมื่อบุคคลต้องการนำกลับมาใช้ใหม่ก็สามารถระลึกได้และสามารถนำกลับมาใช้ในระดับจิตสำนึกได้
และเป็นส่วนที่อยู่ใกล้ชิดกับจิตรู้สำนึกมากกว่าจิตไร้สำนึก
จะเห็นได้ว่าการทำงานของจิตทั้ง 3
ระดับจะมาจากทั้งส่วนของจิตไร้สำนึกที่มีพฤติกรรม
ส่วนใหญ่เป็นไปตามกระบวนการขั้นปฐมภูมิ (Primary
Process)เป็นไปตามแรงขับสัญชาตญาณ ( Instinctual Drives
) และเมื่อมีการรับรู้กว้างไกลมากขึ้นจากตนเองไปยังบุคคลอื่นและสิ่งแวดล้อม
พลังในส่วนของจิตก่อนสำนึกและจิตสำนึก จะพัฒนาขึ้นเป็นกระบวนการขั้นทุติยภูมิ (Secondary
Process)
โครงสร้างของบุคลิกภาพ
(Structure of Personality)
ฟรอยด์
เชื่อว่าโครงสร้างของบุคลิกภาพจะประกอบด้วย อิด (Id) อีโก้
(Ego) และซูเปอร์อีโก้ (Superego) โดยจะอธิบายเป็นข้อๆ ดังนี้
1. อิด ( Id )
จะเป็นต้นกำเนิดของบุคลิกภาพ
และเป็นส่วนที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิดId ประกอบด้วยแรงขับทางสัญชาตญาณ
( Instinct ) ที่กระตุ้นให้มนุษย์ตอบสนองความต้องการ
ความสุข ความพอใจ ในขณะเดียวกันก็จะทำหน้าที่ลดความเครียดที่เกิดขึ้น การทำงานของ Id จึงเป็นไปตามหลักความพอใจ (Pleasure Principle)
2. อีโก้ ( Ego
)
จะเป็นส่วนของบุคลิกภาพที่ทำหน้าที่ประสาน
อิด และ ซูเปอร์อีโก้ ให้แสดงบุคลิกภาพออกมาเพื่อให้เหมาะสมกับความเป็นจริง
และขอบเขตที่สังคมกำหนดเป็นส่วนที่ทารกเริ่มรู้จักตนเองว่า ฉันเป็นใคร Ego ขึ้นอยู่กับหลักแห่งความเป็นจริง(Reality Principle)ที่มีลักษณะของการใช้ความคิดในขั้นทุติยภูมิ
(Secondary Process of Thinking) ซึ่งมีการใช้เหตุผล
มีการใช้สติปัญญา และการรับรู้ที่เหมาะสม และอีโก้ (Ego) เป็นส่วนที่อยู่ในระดับจิตสำนึกเป็นส่วนใหญ่
3. ซูเปอร์อีโก้ (Superego)
เป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับศีลธรรมจรรยา
บรรทัดฐานของสังคม ค่านิยม และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ
ซึ่งทำหน้าที่ผลักดันให้บุคคลประเมินพฤติกรรมต่างๆ ทีเกี่ยวข้องกับมโนธรรม
จริยธรรมที่พัฒนามาจากการอบรมเลี้ยงดู โดยเด็กจะรับเอาค่านิยม
บรรทัดฐานทางศีลธรรมจรรยา
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ
ฟรอยด์
ได้อธิบายถึงการพัฒนาการทางบุคลิกภาพ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการทางเพศ (Stage
of Psychosexual Development) จากความเชื่อเกี่ยวกับสัญชาตญาณทางเพศในเด็กทารกที่แสดงออกมาในรูปพลังของ
ลิบิโด (Libido) และสามารถเคลื่อนที่ไปยังส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายและบริเวณที่พลังลิบิโดไปรวมอยู่เรียกว่า
ที่ของความรู้สึกพึงพอใจ (Erogeneous Zone) เมื่อพลังลิบิโดไปอยู่ในส่วนใดก็จะก่อให้เกิดความตึงเครียด
(Tension)
ฟรอยด์
แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพออกเป็น 5 ขั้น ได้แก่
1.
ขั้นปาก (Oral Stage)
เริ่มตั้งแต่แรกเกิดถึง 1 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่บริเวณปาก การได้รับการกระตุ้น
หรือเร้าที่ปากจะทำให้เด็กเกิดความพึงพอใจ
ทำให้เด็กตอบสนองความพึงพอใจของตนเองโดยการดูด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การดูดนมแม่จึงเป็นความสุขและความพึงพอใจของเขา
2.
ขั้นทวารหรือขั้นอวัยวะขับถ่าย (Anal
Stage)
เด็กจะมีอายุตั้งแต่ 1-3 ขวบ ในวัยนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่บริเวณทวาร โดยที่เด็กจะมีความพึงพอใจเมื่อมีสิ่งมากระตุ้น
หรือเร้าบริเวณทวารในระยะนี้เด็กเริ่มเป็นตัวของตัวเอง
เริ่มมีความพึงพอใจกับความสามารถในการควบคุมอวัยวะของตนเอง โดยเฉพาะอวัยวะขับถ่าย
กิจกรรมที่เด็กมีความสุขจะเกี่ยวข้องกับการกลั้นอุจจาระ (Anal
Retention) และการถ่ายอุจจาระ (Anal Expulsion) ความขัดแย้งที่มักเกิดขึ้นในขั้นนี้คือ การฝึกหัดการขับถ่าย(Toilet)
Training ดังนั้น ถ้าพ่อแม่เลี้ยงดูด้วยความเอาใจใส่
และฝึกการขับถ่ายให้เป็นไปอย่างเหมาะสม
3.
ขั้นอวัยวะเพศตอนต้น (Phallic Stage)
เริ่มตั้งแต่ 3 - 5 ขวบ ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะอยู่ที่อวัยวะเพศ
โดยที่เด็กเกิดความรู้สึกพึงพอใจกับการจับต้องอวัยวะเพศ
เพราะมีความพึงพอใจทางเพศอยู่ที่ตนเองในระยะแรก ถ้าเด็กมีเพศตรงข้ามกับพ่อแม่เด็ก
จะทำให้เด็กชายรักใคร่ และหวงแหนแม่จึงเกิดความรู้สึกอิจฉา
เด็กหญิงจะรักใคร่และหวง แหนพ่อ จึงรู้สึกอิจฉาและเป็นศัตรูกับแม่
4.
ขั้นแฝง (Latency Stage)
เริ่มตั้งแต่ อายุ 6 - 11 ปี ในขั้นนี้ Erogenous Zone จะไม่ปรากฏอยู่ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายโดยเฉพาะ เสมือนขั้นแฝงของพลัง Libido เป็นระยะพักในเรื่องเพศ และจินตนาการทางเพศ
5.
ขั้นอวัยวะเพศตอนปลาย (Genital Stage)
เริ่มจาก 12 ขวบเป็นต้นไป
ในระยะนี้เด็กจะเข้าสู่วัยรุ่น ไปจนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยชรา โดยมี Erogonous
Zone จะมาอยู่ที่อวัยวะเพศ (Genitel Area) เมื่อเด็กย่างเข้าสู่วัยรุ่นจะมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายทั้งหญิงและชายต่างๆ
กัน และมีพัฒนาการทางร่างกายมีความสามารถในการสืบพันธุ์
้ยังมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ มีความต้องการทางเพศอย่างรุนแรง
ต้องการเป็นตัวของตัวเอง ต้องการเป็นอิสระ
กลไกการเกิดอาการ (SYMPTOM FORMATION)
ปกติแรงผลักดันต่าง
ๆ ภายในจิตใจ และจากสิ่งแวดล้อมจะมีปฏิสัมพันธ์กันโดยตลอด ไม่หยุดนิ่ง (dynamic) แรงผลักดันจาก id จะถูกต่อต้านโดย egoเนื่องจากหากความต้องการจาก id ได้ขึ้นสู่จิตสำนึก
หรือแสดงออกโดยตรงอาจก่อให้เกิดผลเสียแก่บุคคลนั้นได้ ในบางขณะ superego จะเข้ามามีบทบาทร่วมด้วยแรงผลักดันที่มีลักษณะตรงข้ามกันเหล่านี้จะก่อให้เกิดความขัดแย้ง
(conflict) ขึ้น
ซึ่งอาจเป็นความขัดแย้งของโครงสร้างต่าง ๆ ภายในจิตใจ
หรืออาจเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อม
แต่เมื่อพิจารณาถึงต้นตอของความขัดแย้งต่าง ๆ
เหล่านี้จะพบว่ามีจุดเริ่มต้นมาจากความขัดแย้งระหว่างid กับ ego ทั้งสิ้น
ซึ่งเป็นจุดสำคัญในทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เราเรียกความขัดแย้งระหว่าง id กับ ego นี้ว่า neurotic
conflict
เมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้นจิตใจจะอยู่ในสภาพเสียสมดุล
(disequilibrium)แรงผลักดันจาก id มีแนวโน้มจะพุ่งขึ้นสู่จิตสำนึก ภายใต้สถานการณ์นี้จะเกิดมีสัญญาณเตือนต่อ ego ในลักษณะของความรู้สึกวิตกกังวล (signal anxiety)ทำให้ ego ต้องแก้ไขสถานการณ์โดยใช้กลไกทางจิต (defense mechanism) เข้าช่วย กลไกทางจิตที่ใช้เป็นลำดับแรกได้แก่ การเก็บกด (repression) ถ้าสำเร็จแรงผลักดันจาก id รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดที่เกี่ยวเนื่องกับแรงผลักดันนี้จะถูกผลักกลับไปอยู่จิตไร้สำนึกตามเดิม
เกิดความสมดุลของจิตใจขึ้นใหม่
ในกรณีที่กลไกทางจิตแบบเก็บกดไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
เนื่องจากแรงผลักดันจาก id รุนแรงมาก ego อ่อนแอลงในช่วงนั้น หรือมีปัจจัยภายนอกมาเสริมแรงผลักดันจาก id
ego จะใช้กลไกทางจิตรูปแบบอื่น ๆ เข้าช่วย (auxillary
defense) เช่น reaction formation หรือ projection ลักษณะการแสดงออกจะเป็นในรูปแบบของการประนีประนอม
(compromise formation) กล่าวคือ ให้แรงผลักดันจาก id ได้ขึ้นมาสู่จิตสำนึกบางส่วนในรูปแบบที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม
ทำให้ความต้องการจากแรงผลักดันดั้งเดิมได้รับการตอบสนองบ้าง
ในขณะเดียวกันก็ยังแสดงถึงแรงต่อต้านจาก ego ในรูปแบบของกลไกทางจิตที่ใช้เข้าช่วย
อาการต่าง ๆ ของผู้ป่วยที่แสดงออกมานั้นเป็นผลรวมของแรงผลักดันจากid ที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กลไกทางจิตที่ ego ใช้เข้าช่วยเสริม repression และsignal
anxiety ที่ยังอาจมีอยู่บ้าง
กลไกทางจิต (Defense
Mechanism)
กลไกทางจิตส่วนใหญ่จะเป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก
ซึ่งผู้ป่วยจะไม่ตระหนักถึงสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ ดังเช่นใน displacement ผู้ป่วยแสดงความฉุนเฉียวกับคนใช้ที่บ้าน เนื่องจากรู้สึกว่า คนใช้ชักช้า
งุ่มง่าม ไม่เคยได้ดังใจ โดยที่ไม่ทราบว่าตามจริงแล้วเป็นจากการที่ตนโกรธหัวหน้างานแต่แสดงออกไม่ได้จึงมาระบายกับคนใช้
โดยลำพังในตัวของกลไกทางจิตเองไม่ถือว่าเป็นสิ่งผิดปกติ
เนื่องจากเป็นการปรับตัวของ ego เพื่อให้จิตใจกลับสู่สมดุล
แต่หากบุคคลนั้น ๆ มีการใช้กลไกทางจิตแบบเดิม ๆ อยู่เสมอ
ใช้กลไกทางจิตจำกัดอยู่เพียงไม่กี่ชนิด ไม่ยืดหยุ่นปรับตามสถานการณ์
หรือมีการใช้กลไกทางจิตที่ไม่เหมาะสมกับวัยหรือสถานการณ์อยู่บ่อย ๆ
ก็มักจะก่อให้เกิดปัญหาหรือจิตพยาธิสภาพในบุคคลนั้นตามมา แต่บุคลิกภาพที่พึงประสงค์
คือ การที่บุคคลสามารถใช้พลังอีโก้เป็นตัวควบคุมพลังอิด และซูเปอร์อีโก้ให้อยู่ในภาวะที่สมดุลได้
กลไกในการป้องกันตัว (Defense
Mechanism) ฟรอยด์และบุตรีแอนนา ฟรอยด์
ได้แบ่งประเภทกลไกในการป้องกันตัวดังต่อไปนี้
1)
การเก็บกด (Repression) หมายถึง การเก็บกดความรู้สึกไม่สบายใจ หรือความรู้สึกผิดหวัง
ความคับข้องใจไว้ในจิตใต้สำนึก จนกระทั่ง ลืมกลไกป้องกันตัวประเภทนี้มีอันตราย
เพราะถ้าเก็บกดความรู้สึกไว้มากจะมีความวิตกกังวลใจมาก
และอาจทำให้เป็นโรคประสาทได้
2)
การหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง (Rationalization) หมายถึง การปรับตัว โดยการหาเหตุผลเข้าข้างตนเอง
โดยให้คำอธิบายที่เป็นที่ยอมรับสำหรับคนอื่น ตัวอย่างเช่น พ่อแม่ที่ตีลูก
มักจะบอกว่า การตีทำเพื่อเด็ก
เพราะเด็กต้องได้รับการทำโทษเป็นบางครั้งจะได้เป็นคนดี พ่อแม่จะไม่ยอมรับว่าตี
เพราะโกรธลูก
3)
การถดถอย (Regress)ion หมายถึง การหนีกลับไปอยู่ในสภาพอดีตที่เคยทำให้ตนมีความสุข ตัวอย่างเช่น
เด็ก 2-3 ขวบ ที่ช่วยตนเองได้ มีน้องใหม่ เห็นแม่ให้ความเอาใจใส่กับน้อง
มีความรู้สึกว่าแม่ไม่รัก และไม่สนใจตนเท่าที่เคยได้รับ
จะมีพฤติกรรมถดถอยไปอยู่ในวัยทารกที่ช่วยตนเองไม่ได้ ต้องให้แม่ทำให้ทุกอย่าง
4)
การแสดงปฏิกิริยาตรงข้ามกับความปรารถนาที่แท้จริง (Reaction
Formation) หมายถึง กลไกป้องกันตน
โดยการทุ่มเทในการแสดงพฤติกรรมตรงข้ามกับความรู้สึกของตนเอง
ที่ตนเองคิดว่าเป็นสิ่งที่สังคม อาจจะไม่ยอมรับ
ตัวอย่างแม่ที่ไม่รักลูกคนใดคนหนึ่ง อาจจะมีพฤติกรรมตรงข้าม
โดยการแสดงความรักมากอย่างผิดปกติ
5)
การสร้างวิมานในอากาศ หรือการฝันกลางวัน (Fantasy หรือ Day dreaming) เป็นการสร้างจินตนาการ หรือมโนภาพ เกี่ยวกับสิ่งที่ตนมีความต้องการ
แต่เป็นไปไม่ได้
6)
การแยกตัว (Isolation) หมายถึง การแยกตนให้พ้นจากสถานการณ์ที่นำความคับข้องใจมาให้
โดยการแยกตนออกไปอยู่ตามลำพัง ตัวอย่างเช่น เด็กที่คิดว่าพ่อแม่ไม่รัก
อาจจะแยกตนปิดประตูอยู่คนเดียว
7)
การหาสิ่งมาแทนที่ (Displacement) เป็นการระบายอารมณ์โกรธ หรือคับข้องใจต่อคน หรือสิ่งของ
ที่ไม่ได้เป็นต้นเหตุของความคับข้องใจ เป็นต้นว่า บุคคลที่ถูกนายข่มขู่
หรือทำให้คับข้องใจ เมื่อกลับมาบ้านอาจจะใช้ภรรยา หรือลูกๆ เป็นแพะรับบาป เช่น
อาจจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวต่อภรรยา และลูก ๆ นักเรียนที่โกรธครู แต่ทำอะไรครูไม่ได้
ก็อาจจะเลือกสิ่งของ เช่น โต๊ะเก้าอี้เป็นสิ่งแทนที่ เช่น เตะโต๊ะ เก้าอี้
8)
การเลียนแบบ (Identification) หมายถึง การปรับตัวโดยการเลียนแบบบุคคลที่ตนนิยมยกย่อง ตัวอย่างเช่น
เด็กชายจะพยายามทำตัวให้เหมือนพ่อ เด็กหญิงจะทำตัวให้เหมือนแม่
กลไกในการป้องกันตัว เป็นวิธีการที่บุคคลใช้ในการปรับตัว
เมื่อประสบปัญหาความคับข้องใจ การใช้กลไกป้องกันจะช่วยยืดเวลาในการแก้ปัญหา
เพราะจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด ความไม่สบายใจ ทำให้คิดหาเหตุผล
หรือแก้ไขปัญหาได้
ทฤษฎีพัฒนาการทางจริยธรรม ของโคล์เบิร์ก (Stages of
Moral Development)
ลอเรนซ์
โคลเบิร์ก (Lawrence Kohlberg) ได้ศึกษาวิจัยพัฒนาการทางจริยธรรมของมนุษย์ในหลายประเทศที่มีวัฒนธรรมต่างกัน
จริยธรรมในที่นี้เป็นเรื่องของความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับความถูกผิด
โดยเกิดจากกระบวนการคิดอย่างมีเหตุผล และอาศัยวุฒิภาวะทางปัญญา
การวิจัยของโคลเบิร์กพบว่าพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กอายุ 10 ปียังพัฒนาไม่ถึงขั้นสูงสุด แต่ยังคงพัฒนาต่อไปเมื่ออายุมากขึ้น
การศึกษาวิจัยนี้ทำให้เราทราบว่า การที่บุคคลใช้เหตุผลหนึ่งๆ
ในการตัดสินใจเลือกกระทำต่อเหตุการณ์อย่างหนึ่งนั้นเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความเจริญในจิตใจของบุคคลผู้นั้น
ซึ่งการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมนี้ไม่ได้ขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของสังคมใดสังคมหนึ่งโดยเฉพาะ
แต่เป็นการใช้เหตุผลที่ลึกซึ้งตามลำดับวุฒิภาวะทางจิตใจ และสติปัญญาของบุคคลนั้น
ดังนั้นการศึกษาแนวคิดทฤษฎีนี้จะช่วยให้เราเข้าใจระดับพัฒนาการทางจริยธรรมของเด็กและเยาวชนที่กระทำผิดกฎหมาย
ซึ่งอาจเป็นเหตุผลส่วนหนึ่งของสาเหตุพฤติกรรมกระทำผิด
ตลอดจนการมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมต่างๆ ความเข้าใจนี้จะช่วยในการวางแผนบำบัด แก้ไข
ฟื้นฟู รวมทั้งพัฒนาทักษะต่างๆ ให้แก่เด็กและเยาวชน
เพื่อช่วยลดการมีความประพฤติที่ไม่เหมาะสมของเด็กและเยาวชนได้ ทฤษฎีนี้ได้แบ่งพัฒนาการทางจริยธรรมเป็น
3 ระดับ โดยแต่ละระดับจะแบ่งย่อยเป็น 2 ขั้น รวม 6ขั้น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
ระดับที่ 1 ระดับก่อนมีจริยธรรมหรือระดับก่อนกฎเกณฑ์สังคม (Pre-Conventional Morality Level)
ในระดับที่ 1 นี้เด็กจะรับรู้กฎเกณฑ์ของพฤติกรรมที่ ‘ดี’ และ ‘ไม่ดี’ จากผู้มีอำนาจเหนือตนเอง เช่น พ่อแม่ ครูหรือเด็กที่โตกว่า และมักคำนึงถึงผลที่ตามมาว่าเป็นรางวัลหรือการถูกลงโทษในการตีความพฤติกรรมของตนเอง อย่างเช่นพฤติกรรมดี คือพฤติกรรมที่แสดงแล้วได้รับรางวัล ส่วนพฤติกรรมที่ไม่ดี คือพฤติกรรมที่แสดงแล้วถูกลงโทษ ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้จะพบในเด็กที่อายุ 2 – 10 ปี โดยพัฒนาการทางจริยธรรมในระดับที่ 1 นี้จะแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ
- ขั้นที่ 1
การเชื่อฟัง และการถูกลงโทษ(Obedience and Punishment
Orientation) ในขั้นนี้เด็กใช้ผลที่ตามมาของการแสดงพฤติกรรมเป็นเครื่องบ่งชี้ว่า
พฤติกรรมของตนเอง ‘ถูก’ หรือ ‘ผิด’
ถ้าเด็กถูกทำโทษจะเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนเองทำนั้นผิด ถ้าเด็กได้รับรางวัลหรือคำชม เขาเรียนรู้ว่าสิ่งที่ตนทำนั้นถูก และจะทำซ้ำอีกเพื่อให้ได้รับรางวัล ดังนั้นเด็กจะยอมทำตามคำสั่งของผู้ที่มีอำนาจเหนือกว่าตนเองโดยไม่มีเงื่อนไข เพื่อไม่ให้ตนเองถูกลงโทษ ถือว่าเป็นการแสดงพฤติกรรมเพื่อหลบหลีกการถูกลงโทษ - ขั้นที่ 2
กฎเกณฑ์เป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ของตน(The
Instrumental Relativist Orientation) ในขั้นนี้ใช้หลักการแสวงหารางวัล
และการแลกเปลี่ยน บุคคลเลือกทำตามความพอใจของตนเอง โดยให้ความสำคัญต่อการได้รับรางวัลตอบแทน
รางวัลอาจจะเป็นวัตถุหรือเป็นการตอบแทนทางกาย วาจา และใจ
โดยในขั้นนี้ยังไม่คำนึงถึงความถูกต้องของสังคม
แต่ทว่าเด็กจะสนใจทำตามข้อบังคับ เพื่อประโยชน์ หรือความพอใจของตนเอง
หรือเพราะอยากได้ของตอบแทน ทั้งนี้บุคคลที่อยู่ในขั้นนี้ยังไม่มีความคิดเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น
หรือความยุติธรรม
ดังนั้นพฤติกรรมของเด็กในขั้นนี้จึงทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง
แต่มักเป็นไปในลักษณะของการแลกเปลี่ยนกับคนอื่น
ระดับที่ 2 ระดับจริยธรรมตามกฎเกณฑ์ทางสังคม (Conventional Morality Level)
ระดับจริยธรรมในระดับที่ 2 นี้ บุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามเกณฑ์ของสังคมที่ตนอยู่ ทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง บุคคลจะไม่คำนึงถึงผลตามมาที่จะเกิดแก่ตนเอง แต่คำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น ยึดถือความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีเป็นสำคัญ จริยธรรมในระดับนี้มักพบในช่วงวัยรุ่นอายุประมาณ 10–16 ปี โดยพัฒนาการทางจริยธรรมนี้จะแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ
ระดับจริยธรรมในระดับที่ 2 นี้ บุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามเกณฑ์ของสังคมที่ตนอยู่ ทำตามความคาดหวังของพ่อแม่ หรือผู้ปกครอง บุคคลจะไม่คำนึงถึงผลตามมาที่จะเกิดแก่ตนเอง แต่คำนึงถึงจิตใจของผู้อื่น ยึดถือความซื่อสัตย์ และความจงรักภักดีเป็นสำคัญ จริยธรรมในระดับนี้มักพบในช่วงวัยรุ่นอายุประมาณ 10–16 ปี โดยพัฒนาการทางจริยธรรมนี้จะแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ
- ขั้นที่ 3
ความคาดหวังและการยอมรับในสังคมสำหรับ‘เด็กดี’
(The Interpersonal Concordance or “Good Boy-Nice Girl” Orientation) ในขั้นนี้บุคคลจะใช้หลักทำตามที่ผู้อื่นเห็นชอบ
โดยจะแสดงพฤติกรรมเพื่อต้องการให้เป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ทำให้ผู้อื่นพอใจ
และยกย่องชมเชย บุคคลจะไม่ค่อยมีความเป็นตัวของตัวเอง
มักคล้อยตามการชักจูงของผู้อื่น โดยเฉพาะเพื่อนพบในวัยรุ่นอายุ 10–15 ปี พัฒนาการทางจริยธรรมในขั้นนี้เป็นพฤติกรรมของ “คนดี” ตามมาตรฐานหรือความคาดหวังของพ่อ แม่
หรือเพื่อนวัยเดียวกัน ดังนั้นพฤติกรรมดีในที่นี้จึงหมายถึง
พฤติกรรมที่จะทำให้ผู้อื่นชอบและยอมรับ
รวมทั้งการไม่ประพฤติผิดเพราะกลัวว่าจะทำให้พ่อแม่เสียใจ
- ขั้นที่ 4
กฎและระเบียบ (Law and Order Orientation) ในขั้นนี้บุคคลจะใช้หลักทำตามหน้าที่ของสังคม
พัฒนาการทางจริยธรรมในขั้นนี้พบในวัยรุ่นช่วงอายุประมาณ 13–16 ปี บุคคลจะเรียนรู้ถึงการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
คำนึงถึงบทบาทและหน้าที่ของตนเองในสังคม
และปฏิบัติตามหน้าที่ของสังคมอย่างเคร่งครัดเพื่อธำรงไว้ซึ่งกฎเกณฑ์ของสังคม
เหตุผลในเชิงจริยธรรมในขั้นนี้
ถือว่าสังคมจะอยู่ด้วยความมีระเบียบจะต้องมีกฎหมายและข้อบังคับ
คนดีหรือคนที่มีพฤติกรรมถูกต้องคือ
คนที่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับหรือกฎหมาย
ระดับที่ 3 ระดับจริยธรรมตามหลักการด้วยวิจารณญาณ หรือระดับเหนือกฎเกณฑ์สังคม (Post-Conventional
Morality Level)
พัฒนาการทางจริยธรรมในระดับนี้เป็นหลักจริยธรรมของผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากบุคคลพัฒนาจริยธรรมมาถึงขั้นนี้ก็จะมีการใช้วิจารณญาณตีความหมายของสถานการณ์ต่างๆ ตามหลักการ และมาตรฐานทางจริยธรรมก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม ซึ่งการตัดสินใจว่า ‘ถูก’ ‘ผิด’ หรือ ‘ควร’ ‘ไม่ควร’ มาจากวิจารณญาณของตนเอง อยู่บนหลักของความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม ปราศจากอิทธิพลของผู้ที่มีอำนาจ หรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมในระดับนี้ก็จะแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ
พัฒนาการทางจริยธรรมในระดับนี้เป็นหลักจริยธรรมของผู้ที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากบุคคลพัฒนาจริยธรรมมาถึงขั้นนี้ก็จะมีการใช้วิจารณญาณตีความหมายของสถานการณ์ต่างๆ ตามหลักการ และมาตรฐานทางจริยธรรมก่อนที่จะแสดงพฤติกรรม ซึ่งการตัดสินใจว่า ‘ถูก’ ‘ผิด’ หรือ ‘ควร’ ‘ไม่ควร’ มาจากวิจารณญาณของตนเอง อยู่บนหลักของความยุติธรรม และเป็นที่ยอมรับของสังคม ปราศจากอิทธิพลของผู้ที่มีอำนาจ หรือกลุ่มที่ตนเป็นสมาชิก ซึ่งพัฒนาการทางจริยธรรมในระดับนี้ก็จะแบ่งเป็น 2 ขั้น คือ
- ขั้นที่ 5
สัญญาสังคม หรือหลักการทำตามคำมั่นสัญญา (The
Social-Contract Legalistic Orientation) บุคคลมีเหตุผลในการเลือกกระทำ
โดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น
เคารพการตัดสินใจของตนเอง และสามารถควบคุมตนเองได้ โดยมีพฤติกรรมที่ถูกต้องตามค่านิยมของตนและมาตรฐานของสังคม
- ขั้นที่ 6
หลักการคุณธรรมสากล (The Universal-Ethical Principle
Orientation) ขั้นนี้ถือว่าเป็นหลักการมาตรฐานจริยธรรมสากล
เป็นหลักการเพื่อมนุษยธรรม ในขั้นนี้สิ่งที่ ‘ถูก’
และ ‘ผิด’ เป็นสิ่งที่ขึ้นอยู่กับมโนธรรมที่แต่ละคนยึดถือ
บุคคลจะแสดงพฤติกรรมตามหลักการคุณธรรมสากล โดยคำนึงถึงความถูกต้อง
ยอมรับในคุณค่าของความเป็นมนุษย์ คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน มีคุณธรรมประจำใจ
ละอาย เกรงกลัวต่อบาป มีความยืดหยุ่นและยึดหลักจริยธรรมของตนอย่างมีสติ
พัฒนาการทางจริยธรรมจะมีความเกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางด้านความคิดเป็นเหตุเป็นผล
(ตรรกะ) บุคคลจะมีพัฒนาการทางจริยธรรมเป็นไปตามลำดับไม่มีการข้ามขั้น เช่น
บุคคลที่มีพัฒนาการทางจริยธรรมในขั้น 3 การแสดงพฤติกรรมเพื่อให้ได้รับการยอมรับจากกลุ่ม
จะไม่สามารถพัฒนาแบบก้าวกระโดดไปยังขั้น 5 ซึ่งเป็นเรื่องการตระหนักถึงประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก
แต่อาจพัฒนาก้าวหน้าขึ้นไปเรื่อยๆ ผ่านขั้นที่ 4 และไปถึงขั้นที่
5 เป็นลำดับ การที่เราศึกษาแนวคิดเหตุผลเชิงจริยธรมนี้จะทำให้เราตระหนักถึงข้อจำกัดทางด้านความคิดในแต่ละขั้นพัฒนาการปัจจุบันของบุคคล
ซึ่งเหล่านี้เป็นแรงผลักดันที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางจริยธรรมของบุคคลนั้น
และยังเกี่ยวข้องกับการแสดงพฤติกรรมต่างๆ ของบุคคลด้วยเช่นกัน
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
พัฒนาการทางสมองของบรูเนอร์
เน้นที่การถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
1. Enactive representation
ตั้งแต่แรกเกิดจนอายุประมาณ 2
ขวบเป็นช่วงที่เด็กแสดงให้เห็นถึงความมีสติ ปัญญาด้วยการกระทำ
และการกระทำด้วยวิธีนี้ยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ
เป็นลักษณะของการถ่ายทอดประสบการณ์ด้วยการกระทำซึ่งดำเนินต่อไปตลอดชีวิต
มิได้หยุดอยู่เพียงในช่วงอายุใดอายุหนึ่ง
บรูเนอร์อธิบายในแง่ที่ว่า เด็กใช้การกระทำแทนสิ่งต่าง ๆ
หรือประสบการณ์ต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจ
เขาได้ยกตัวอย่างจากการศึกษาของเปียเจท์ ในกรณีที่เด็กเล็ก ๆ
นอนอยู่ในเปลและเขย่ากระดิ่งเล่น
ขณะที่เขย่าบังเอิญทำกระดิ่งตกข้างเปลเด็กจะหยุดนิดหนึ่งแล้วยกมือขึ้นดู
เด็กทำท่าประหลาดใจและเขย่ามือเล่นต่อไป
จากการศึกษานี้บรูเนอร์ให้ข้อแนะว่า
การที่เด็กเขย่ามือต่อไปโดยที่ไม่มีกระดิ่งนั้น เพราะเด็กคิดว่ามือนั้นคือกระดิ่ง
และเมื่อเขย่ามือก็จะได้ยินเสียงเหมือนเขย่ากระดิ่งนั่นคือ เด็กถ่ายทอดสิ่งของ (กระดิ่ง) หรือประสบการณ์
ด้วยการกระทำ ตามความหมายของ บรูเนอร์
เกี่ยวกับเรื่องนี้บรูเนอร์ให้ความเห็นว่า
ในชีวิตประจำวันของเรานั้น บางครั้งจะพบว่าคนโต ๆ จะยังใช้วิธีการแก้ปัญหาด้วยการกระทำ ซึ่งให้ผลดีกว่าการอธิบายด้วยคำพูด เช่น การสอนคนให้ขี่จักรยาน หรือเล่นเทนนิส
หรือการกระทำอื่น ๆ อีกหลายอย่างเราจะพบว่าวิธีที่ดีที่สุด คือ
แสดงให้ดูเป็นตัวอย่างซึ่งจะได้ผลดีกว่าการอธิบาย
เพราะเราจะพบว่าเป็นการยากเหลือเกินที่จะอธิบายให้ฟังเป็นขั้นตอน
และบางครั้งก็มิสามารถหาคำพูดมาอธิบายได้ เพื่อให้คนมองเห็นภาพ
แต่ถ้าเรากระทำให้ดู (acting) โดยมิต้องใช้คำพูดอธิบายผู้เรียนจะเข้าใจทันที
ดังนั้นบรูเนอร์จึงมิได้แบ่งพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจให้หยุดอยู่เพียงในระยะแรกของชีวิตเท่านั้น
เพราะถือว่าเป็นกระบวนการต่อเนื่องคนจะนำมาใช้ในช่วงใดของชีวิตอีกก็ได้
2. Iconic representation
พัฒนาการทางความคิดในขั้นนี้อยู่ที่การมองเห็นและการใช้ประสาทสัมผัสต่าง
ๆ จากตัวอย่างของเปียเจท์ดังกล่าวแล้ว เมื่อเด็กอายุมากขึ้นประมาณ 2-3
เดือน ทำของเล่นตกข้างเปล
เด็กจะมองหาของเล่นนั้น ถ้าผู้ใหญ่แกล้งหยิบเอาไป เด็กจะหงุดหงิดหรือร้องไห้เมื่อมองไม่เห็นของ
บรูเนอร์ตีความว่า การที่เด็กมองหาของเล่นและร้องไห้
หรือแสดงอาการหงุดหงิดเมื่อไม่พบของ แสดงให้เห็นว่าในวัยนี้เด็กมีภาพแทนในใจ (iconic representation) ซึ่งต่างจากวัย enactive เด็กคิดว่าการสั่นมือกับการสั่นกระดิ่งเป็นของสิ่งเดียวกัน
เมื่อกระดิ่งตกหายไป ก็ไม่สนใจ แต่ยังคงสั่นมือต่อไป
การที่เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
ด้วยการมีภาพแทนในใจ
แสดงให้เห็นถึงพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจซึ่งจะเพิ่มขึ้นตามอายุ เด็กโตจะยิ่งสามารถสร้างภาพในใจได้มากขึ้น
เช่น การทดลองของบรูเนอร์ (1964) กับเด็ฏวัย 5-7 ขวบ
โดยให้จัดเรียงลำดับแก้วซึ่งมีขนาดต่าง ๆ กัน 9 ใบ ดัง
การทดลอง
ครั้งแรกบรูเนอร์ให้เด็กดูภาพจากการจัดแก้ว 9 ใบ
ดังแสดงในรูป ต่อจากนั้นหยิบแก้ว ออกทีละแถว และให้เด็กจัดเองให้เหมือนเดิม จากนั้นหยิบแก้วทั้ง 9 ใบ
ออกจากตะแกรงและให้เด็กจัดให้เหมือนเดิม ปรากฏว่าเด็กวัย 5 ขวบ และ
7 ขวบ สามารถทำได้
ความแตกต่างระหว่างเด็ก 2 วัยนี้คือ เมื่อบรูเนอร์ให้ เรียงสลับโดยให้เริ่มจากใบใหญ่ให้อยู่ทาง
ซ้ายมือ ปรากฏว่าเด็กวัย 5 ขวบ เริ่มต้นอย่างถูกต้อง แต่แล้วก็งง
ในที่สุดจัดออกมาเหมือนแบบที่ให้ดูตั้งแต่แรก ส่วนเด็กวัย 7 ขวบนั้น
สามารถเรียงสลับได้อย่างถูกต้อง บรูเนอร์จึงสรุปว่า
การเกิดภาพในใจซึ่งแสดงให้เห็นถึงความรู้ความเข้าใจนั้นจะเพิ่มขึ้นตามอายุ
ทั้งนี้เพราะเด็กรู้จักที่จะถ่ายทอดประสบการณ์ออกมาเป็นสัญลักษณ์ (Symbolic)
3. Symbolic representation
หมายถึงการถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่าง ๆ
โดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิด
ขั้นนี้เป็นขั้นที่บรูเนอร์ถือว่าเป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ
เด็กสามารถคิดหาเหตุผล และในที่สุดจะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรมได้
และสามารถแก้ปัญหาได้
บรูเนอร์มีความเห็นว่าความรู้ความเข้าใจและภาษามีพัฒนาการขึ้นมาพร้อม ๆ กัน
สรุป
บรูเนอร์มีความเห็นว่าคนทุกคนจะมีพัฒนาการทางความรู้ความเข้าใจ
โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่าacting, imaging และ symbolizing เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องไปตลอดชีวิต
มิใช่ว่าเกิดขึ้นเพียงช่วงใดช่วงหนึ่งในระยะแรก ๆ ของชีวิตเท่านั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น